หน้าหลัก > บทความและรีวิว > ANC vs ENC สำหรับหูฟังตัดเสียงรบกวน ต่างกันอย่างไร?
ANC vs ENC สำหรับหูฟังตัดเสียงรบกวน ต่างกันอย่างไร?
ANC vs ENC สำหรับหูฟังตัดเสียงรบกวน ต่างกันอย่างไร?
16 Sep, 2024 / By kawathailand
Images/Blog/620vfApy-Untitled.png

เข้าใจเทคโนโลยี ANC และ ENC เพื่อเลือกซื้อหูฟังตัดเสียงรบกวนที่ใช่

           ในปัจจุบัน หูฟังตัดเสียงรบกวนได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้เราสามารถเพลิดเพลินกับเสียงเพลงหรือการฟัง Podcast ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกรบกวนจากเสียงภายนอก แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า ANC และ ENC ที่เห็นบนหูฟังแต่ละรุ่นนั้นแตกต่างกันอย่างไร และแบบไหนถึงจะตอบโจทย์ความต้องการของคุณมากที่สุด? มาไขข้อข้องใจกันเลย

ANC (Active Noise Cancelling): ตัดเสียงรบกวนรอบข้าง

  • หลักการทำงาน: ANC หรือ Active Noise Cancelling เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ไมโครโฟน 2 ตัว ตรวจจับเสียงรบกวนจากภายนอก แล้วสร้างเสียงที่มีเฟสตรงข้าม (Anti-Phase) ขึ้นมาเพื่อหักล้างเสียงรบกวนนั้น ทำให้เราได้ยินแต่เสียงเพลงหรือเสียงที่ต้องการ

how ANC works

          โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Hybrid Active Noise Cancelling ซึ่งจะมีการเพิ่มจำนวนไมค์ในส่วนด้านในของใบหูจาก 2 เป็น 3 ตัว ทำให้ตัดเสียงรบกวนได้ดีขึ้นกว่าเดิม ที่เรียกว่า Feedback และ Feed Forward Microphone

  • ข้อดี: ตัดเสียงรบกวนได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น การเดินทางด้วยเครื่องบิน รถไฟ หรือการทำงานในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวนสูง
  • ข้อเสีย: กินพลังงานแบตเตอรี่มากขึ้นกว่าเดิม

ตัวอย่างหูฟังบลูทูธที่มีระบบ Hybrid Active Noise Cancelling เช่น Kawa M16 และ Kawa A18

ENC (Environmental Noise Cancellation): เน้นคุณภาพเสียงสนทนา

  • หลักการทำงาน: ENC หรือ Environmental Noise Cancellation มีหลักการทำงานคล้ายกับ ANC แต่จะเน้นการลดเสียงรบกวนรอบข้างขณะที่เราพูดคุยผ่านไมโครโฟน เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในสายได้ยินเสียงของเราชัดเจนยิ่งขึ้น โดยใช้ไมค์โครโฟน 2 ตัว ตัวแรกจะเป็นไมค์ที่รับเสียงของเราและไมค์ตัวที่สองจะเป็นไมค์ที่รับเสียงรบกวนรอบข้าง หลังจากนั้นตัวหูฟังจะทำหน้าที่ประมวลผลตัดเสียงรบกวนออกจากเสียงของเรา ทำให้ฝั่งตรงข้ามไม่ได้ยินเสียงรอบข้างของเราเวลาคุยกับเรา

VOCAL's Dual Microphone Adaptive Noise Reduction Software

 

  • ข้อดี: ช่วยให้การสนทนาทางโทรศัพท์มีความชัดเจนมากขึ้น เหมาะสำหรับการใช้งานในการประชุมทางไกล หรือการใช้งานในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน
  • ข้อเสีย: อาจทำให้เสียงที่ได้จากการตัดเสียงรบกวนเปลี่ยนไปบ้างแต่ไม่มาก

ตัวอย่างหูฟังบลูทูธที่มีระบบ ENC (Environmental Noise Cancellation) เช่น Kawa N3 และ Kawa K10C+

 

 

ANC vs. ENC: เลือกแบบไหนดี?

  • เลือก ANC เมื่อ: คุณต้องการหูฟังที่ตัดเสียงรบกวนตอนคุณฟังเพลงหรือ Podcast ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น การเดินทางด้วยเครื่องบิน รถไฟ หรือการทำงานในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวนสูง
  • เลือก ENC เมื่อ: คุณต้องการหูฟังที่เน้นคุณภาพเสียงในการสนทนา เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในสายได้ยินเสียงของคุณชัดเจนไร้เสียงรบกวนจากรอบข้างของคุณ

จริงๆแล้วเราไม่จำเป็นต้องเลือกเพราะทาง Kawa มีหูฟังที่มีทั้งระบบ ANC และ ENC พร้อมกัน เช่น  Kawa M16 และ Kawa J11 ทำให้ใช้งานได้ครบถ้วนทุกฟังชันก์

 

แหล่งอ้างอิง

https://vocal.com/noise-reduction/adaptive-noise-reduction/

https://www.soundguys.com/noise-canceling-anc-explained-28344/

https://rave.pk/blogs/anc-vs-enc/

 

 

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.